เป็น“โรคกรดไหลย้อน” ควรบริโภคอาหารที่เหมาะสมอย่างไรเพื่อให้อาการดีขึ้น
อาหาร และ พฤติกรรมการกิน เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะโรคกรดไหลย้อน ( Gastroesophageal reflux disease :GERD)
เพราะโรคกรดไหลย้อนนั้น เกิดจากการที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร สาเหตุส่วนใหญ่มาจากหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารเสื่อม ซึ่งจะมีอาการแสบร้อนบริเวณทรวงอก จุกเสียดใต้ลิ้นปี่ ปวดจุกท้อง หลังรับประทานอาหาร 30-60 นาที ร่วมกับอาการแน่นหน้าอกคล้ายกับอาหารไม่ย่อย ซึ่งอาการส่วนใหญ่จึงสัมพันธ์กับลักษณะพฤติกรรมเสี่ยง 3 ลักษณะ ดังนี้
3 พฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน
- การรับประทานอาหารมากเกินไปในครั้งเดียว ทำให้เกิดแรงดันในช่องท้อง มากจนกรดไหลย้อน
- รับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เกิดการหลั่งกรดและกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้น หรือ อาหารที่ทำให้หูรูดหลอดอาหารคลายตัว เช่น อาหารรสจัด หวานจัด มันจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น
- พฤติกรรมการนอน หรือออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารทันที
3 พฤติกรรมเสี่ยงนี้ ที่สำคัญและมีผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันมากที่สุด คือ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการกำเริบหรือลุกลามของโรค โดยมี อาหาร 6 กลุ่มที่ต้องหลีกเลี่ยงสำหรับ คนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนดังนี้คะ
อาหาร 6 กลุ่มที่ต้องหลีกเลี่ยงสำหรับ คนที่เป็นโรคกรดไหลย้อน
- อาหารที่ทำให้หูรูดหลอดอาหารคลายตัว เช่น แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต สะระแหน่ เปปเปอร์มินต์
- อาหารที่ต้องใช้เวลาย่อยนานและค้างในกระเพาะนานๆ เช่น เนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก ไขมัน มันฝรั่งทอด อาหารผัดหรืออาหารทอดที่อมน้ำมัน เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารไขมันสูงๆ ของทอดด้วยน้ำมันทุกชนิดควรหลีกเลี่ยง
- อาหารที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสจัด เผ็ดจัด (เช่น อาหารปักษ์ใต้ อาหารอีสาน บางประเภท)เครื่องดื่มและอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ผลไม้เปรี้ยว น้ำผลไม้รสเปรี้ยว (น้ำส้มคั้น) น้ำมะเขือเทศ
- อาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ เช่น กระเทียม หัวหอม น้ำอัดลม นม น้ำเต้าหู้ฯลฯ (น้ำธัญพืช รับประทานได้)
- อาหารที่กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย เช่น ชา กาแฟ น้ำอันลม (แป๊ปซี่ โคล่า) ยาชูกำลังต่างๆ ที่มีสารกาเฟอีน ฯลฯ
- ผลไม้ ที่ควรหลีกเลี่ยง คือ ผลไม้หวานจัด หรือเปรี้ยวจัดทุกชนิด เช่น
- ผลไม้หวานจัด เช่น ลำไย เงาะ แตงโม ลิ้นจี่ ฯลฯ เพราะผลไม้เหล่านี้มีน้ำตาลในปริมาณที่สูง เมื่อรับประทานเข้าไปจะเกิดกรดในลำไส้เล็ก
- ผลไม้เปรี้ยวทุกชนิด เช่น มะเขือเทศ แก้วมังกร ฝรั่ง เสาวรส มะนาว เพราะผลไม้เปรี้ยวมีวิตามินซีสูง เมื่อรับประทานเข้าไปจะมีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้เกิดลมในกระเพาะ จุกเสียด ปวดแสบ แน่นท้อง
การเลือกรับประทานอาหารสำหรับคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อน
- ขมิ้นชัน มีวิตามิน เอ อี ซี ที่สามารถทำงานพร้อมกันทั้ง 3 ชนิด ช่วยลดไขมันในตับ ลดกรดและสมานแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ ขับลมและแก๊สในกระเพาะและลำไส้ สามารถนำมารับประทานได้ทั้งสดๆ (ต้องปอกเปลือกก่อน) และนำมาทำเป็นส่วนผสมอาหาร เช่น ข้าวหุงขมิ้น ไก่อบขมิ้น เห็ดย่างขมิ้นฯลฯ สำหรับผู้ที่ต้องการให้อาการกรดไหลย้อนบรรเทา หรือหายเร็วขึ้น ขมิ้นชัดสกัดที่ทำให้สามารถละลายได้ดีแล้วเท่านั้นจึงจะสามารถช่วยได้ เพราะตามปกติแล้วขมิ้นชันทั่วไปจะละลายน้ำได้ยาก และไม่คงรูป (สลายตัวได้ง่าย) หากไม่ใช่ขมิ้นสกัดก็จะต้องใช้เวลายาวนานในการรับประทาน เพื่อช่วยให้อาการกรดไหลย้อนดีขึ้น
- ขิง เพราะของสามารถขับลมจากกระเพาะและลำไส้ ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง และอาการคลื่นไส้อาเจียน
- ผักใบเขียวทุกชนิด เช่น ผักหวาน คะน้า ผักกวางตุ้ง ตำลึง ผักบุ้ง บล็อกโคลี ฯลฯ แนะนำให้รับประทานในมื้อเช้า มื้อกลางวัน โดยเคี้ยวให้ละเอียดมากๆ เพื่อกระจายกากใย (Fiber) ซึ่งกากใยในผักจะทำหน้าที่ช่วยซับกรด ดูดซับน้ำตาลส่วนเกิน ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว และลดปัญหาท้องผูก ส่งเสริมการขับถ่ายและเป็นการขับลมและของเสียจากร่างกาย
- ผักสีขาวย่อยงาย เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ดอกกะหล่ำปลี แนะนำให้รับประทานมื้อเย็น โดยเฉพาะกล่ำปลี สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ ลดการอักเสบ ซ่อมแซมผิวหนังและขจัดสารพิษออกจากร่างกาย
- อาหารที่เคี้ยวแล้วเป็นเมือก เช่น ผักปลัง ผักดอกกระเจี๊ยบ เมื่อเคี้ยวแล้วเป็นเมือก ลื่นๆ จะสามารถเคลือบกระเพาะได้ ป้องกันการแสบท้อง และป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- ผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น เช่น
– กล้วยน้ำหว้า ช่วยเคลือบลำไส้ได้ดี (กล้วยน้ำว้าในแต่ละช่วงของความสุกจะมีสรรพคุณที่แตกต่างกัน กล้วยน้ำว้าดิบจะช่วยรักษาแผลในกระเพาะได้ดี กว่าช่วงอื่นๆ ทั้งนี้เพราะกล้วยน้ำว้าดิบจะมียางที่มีสรรพคุณในการรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
– แตงไทย ช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อน ยกเว้นคนที่รับประทานแตงไทยแล้วมีอาการท้องอืดควรรับประทานขมิ้นชันเพิ่ม
– ชมพู่ รสไม่หวานและไม่เปรี้ยว มีกากไยช่วยในการขับถ่าย
- รับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วน โดยเฉพาะมื้อเช้า เน้นอาหารประเภทโปรตีน มื้อเย็น
ควรรับประทานเพียงเล็กน้อย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลในปริมาณสูง เพราะเมื่อย่อยแล้วจะทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร มากกว่าอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และผัก
- อาหารประเภทไขมันต่ำ เน้นการปรุงด้วยการต้ม นึ่ง แทนการทอด เพราะอาหารทอด
หรือ อาหารมันทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนไหวช้าลง ทำให้มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนได้มากขึ้น
โรคกรดไหลย้อน สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาเสมอไป เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการรับประทานอาหาร และที่สำคัญมีอาหารหลากหลายชนิดในบ้านเรา ที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพและสามารถบำบัดโรคได้ในตัว รวมทั้งเป็นสมุนไพรช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคกรดไหลย้อนอีกมากมายหลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน ขิง กล้วย ว่านหางจระเข้ เป็นต้น ที่สามารถปลูกไว้รับประทานเองได้ในบ้านเรา หรือ ซื้อมารับประทานได้ในราคาถูกตามท้องตลาด รวมทั้งยังเป็นการลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาแผนปัจจุบันได้ดีกว่าแน่นอนคะ
สำหรับผู้ที่เป็นกรดไหลย้อน แล้วต้องการให้อาการทุเลาเร็วขึ้น หรือต้องการรักษาให้หายขาด สามารถติดต่อเราได้ที่นี้ เรามีพร้อมมีคำแนะนำดีๆให้ท่าน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย